โรคหลอดเลือดสมอง
Stroke
ตีบ
ตัน
แตก

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke

ภาวะสมองขาดเลือดซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน ตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ส่งผลให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน จนเกิดการตายของสมอง ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตายและลดความพิการหรือทุพพลภาพของร่างกายได้

การรักษาผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมอง
หรือ Stroke

  • การผ่าตัดเพื่อสวนหลอดเลือดหรือใส่ขดลวด
  • การใช้ยาเพื่อลดการแข็งตัวของเกร็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
  • โปรแกรมการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
โรคไขสันหลังบาดเจ็บ
Spinal Cord Injury (SCI)

การบาดเจ็บไขสันหลัง หรือ Spinal Cord Injury

คือภาวะที่ไขสันหลังซึ่งรวมรากประสาทที่อยู่ในโพรงของกระดูกสันหลัง ได้รับบาดเจ็บจนส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย มักจะเกิดจากอุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่ โดยแบ่งชนิดของโรคตามความรุนแรงหรือแบ่งตามระดับของไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อไขสันหลังได้รับบาดเจ็บจะทำให้มีปัญหาทางระบบประสาทและส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางร่างกายหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

ปัญหาและอาการที่พบ

ปัญหาจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการบาดเจ็บ แต่ปัญหาที่เรามักพบคือ

  • กล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว อ่อนแรง บางรายอาจมีกล้ามเนื้อเกร็งตัวสูง
  • สูญเสียการรับรู้การสัมผัส ร้อน/เย็น
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางต่างๆ เช่นการนั่ง ยืน เดินไม่ได้
  • ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้

การรักษาผู้ป่วย
โรคไขสันหลังบาดเจ็บ
Spinal Cord Injury

  • การผ่าตัดลดการกดทับ เบียดของกระดูกสันหลัง
  • การรักษาชีวิตของผู้ป่วยจากภาวะหัวใจหรือหายใจหยุด ทำงานที่เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บ
  • โปรแกรมการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
โรคพาร์กินสัน
Parkinson

WHAT IS PARKINSON

คือโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งใน ผู้สูงอายุ โดยเกิดจากการเสื่อมอย่างช้าๆของสมอง ในส่วนที่ เรียกว่า Substantia nigra ซึ่งมีหน้าที่หลั่งสารโดพามีน “ฮอร์โมนแห่งความสุข” มีส่วนในการควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้ราบเรียบต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติของสมองส่วนนี้มักจะส่งผลโดยตรงต่อปัญหาการเคลื่อนไหว

WHAT IS PARKINSON

คือโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งใน ผู้สูงอายุ โดยเกิดจากการเสื่อมอย่างช้าๆของสมอง ในส่วนที่ เรียกว่า Substantia nigra ซึ่งมีหน้าที่หลั่งสารโดพามีน “ฮอร์โมนแห่งความสุข” มีส่วนในการควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้ราบเรียบต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติของสมองส่วนนี้มักจะส่งผลโดยตรงต่อปัญหาการเคลื่อนไหว

การรักษาผู้ป่วย
โรคพาร์กินสัน
Parkinson

  • การรักษาด้วยยาเพื่อเป็นการเพิ่ม และส่งเสริม โดพามีน
  • การผ่าตัดเพื่อใส่เครื่องกระตุ้นสมอง
  • โปรแกรมการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
โปรแกรมการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
0:00
/

แนวทางหลักคือกระตุ้นการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะการเดิน

โดยส่วนใหญ่ จะใช้การรักษาขั้นพื้นฐานด้านกายภาพเป็นการฝึกร่วมกับการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกเดินชนิดสวมใส่ Exoskeleton Robot เข้ามามีส่วนช่วยในการฝึกเพื่อให้ผู้ป่วยยังคงเดินได้ดี และดีขึ้นไปจนกว่าอาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้น

บางรายที่มีอาการรุนแรงจนกล้ามเนื้อแข็งเกร็งหรือสั่นในขณะพัก การใช้เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กทั้งชนิด Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) และ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) ช่วยลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และให้มีการขยับของข้อต่อเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาด้านร่างกายที่แตกต่างกันเช่น มีปัญหาพูดช้า หรือปัญหาด้านการกลืน การฝึกพูด และการฝึกเคี้ยวและกลืนด้วย การทำกิจกรรมบำบัด ก็สามารถส่งเสริมสมรรถภาพการใช้ชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสันได้

โรคอัลไซเมอร์
Alzheimer

โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer

คือ กลุ่มอาการที่มีการทำงานของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อม ผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาทางความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม และ อารมณ์ผิดปกติไป มีผลต่อการใช้ชีวิต หรือการทำกิจวัตรประจำวัน จนในที่สุดผู้ป่วยหลายคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของสมองและมักเกิดในผู้สูงอายุ

เฉื่อยชา

นึกคำพูดไม่ออก

มึนงง

สูญเสียความจำ

สับสนเวลาและสถานที่

แก้ปัญหาง่ายๆได้ยาก

การรักษาผู้ป่วย
โรคอัลไซเมอร์
Alzheimer

  • การรักษาโดยใช้ยา ยับยั้งสารที่ทำลายสารสื่อประสาทในสมอง (acetylcholinesterase inhibitor)
  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่นการพบจิตแพทย์ หรือโปรแกรมการฟื้นฟูด้านกายภาพบำบัด

ผู้สูงอายุ

Silver Gen

สำหรับประเทศไทยได้กำหนดนิยามผู้สูงอายุ
อย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติ
ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546

“ผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลซึ่ง
มีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
และมีสัญชาติไทย

ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยนับได้ว่าเป็น “สังคมผู้สูงอายุ”
เนื่องจากมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10
ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ

โดยปัจจุบันเราได้หันมาสนใจสุขภาพของผู้สูงอายุมากขึ้น เพราะเฉลี่ยอายุของผู้สูงอายุนั้น
ยืนยาวมากขึ้น การรักษาฟื้นฟู ส่งเสริมและป้องกันความเจ็บป่วย
จึงมีส่วนช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้น ปัญหาอะไรบ้างเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่เราต้องพบเจอ

เคลื่อนไหวช้า
เสี่ยงต่อการหกล้ม
สายตา
พร่ามัว
ความเสื่อม
ของสมอง
ความเสื่อมของ
ข้อต่อต่างๆ และกระดูก
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
เคลื่อนไหวช้า
เสี่ยงต่อการหกล้ม
สายตา
พร่ามัว
ความเสื่อม
ของสมอง
ความเสื่อมของ
ข้อต่อต่างๆ และกระดูก
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ในทางการดูแลรักษาฟื้นฟูด้านกายภาพบำบัด

เราให้ความสำคัญกับปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การเดิน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
เนื่องด้วยปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการหกล้มในผู้สูงอายุได้ ด้วยร่างกายที่เปลี่ยนแปลง
ไปผู้สูงอายุและครอบครัวควรระมัดระวังและลดความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น

  • การกายภาพบำบัดเพื่อการออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรง และเสริมสร้างความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว
  • ปรับเปลี่ยนสิ่่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเช่น แสงสว่างทางเดิน, ไม่วางสิ่่งของกีดขวางทางเดิน ,ใช้แผ่นกันลื่นบริเวณที่เปียก หรือ ติดสติ๊กเกอร์พื้นที่ต่างระดับ เป็นต้น
  • การรักษาฟื้นฟูด้วยการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาการคลื่อนไหวลดลง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่นการใช้หุ่นยนต์ฝึกเดินชนิด Exoskeleton Robot สำหรับผู้สูงอายุที่เดินไม่มั่นคง เพื่อให้เดินได้เสมือนจริงให้เกิดความมั่นใจที่ดีต่อการเดิน หรือการใช้คลื่นแม่เหล็กชนิด Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) กระตุ้นกล้ามเนื้อสะโพก หลัง ต้นขา เพื่อส่งเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและกลับมาทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยส่งผลให้การเดิน การเคลื่อนไหวดีขึ้น
  • อีกหนึ่งสาเหตุที่ไม่สามารถมองข้ามได้คือปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ก็นำไปสู่การหกล้มทางอ้อมได้เช่นกัน ซึ่งโปรแกรมการฟื้นฟูด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กชนิด Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) และ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) ในการฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและการกระตุ้นการควบคุมระบบปัสสาวะก็เป็นอีกการรักษาเสริมให้กับผู้สูงอายุได้เช่นกัน
ภาวะสมองบาดเจ็บ
Brain Trauma

ภาวะสมองบาดเจ็บ Brain Trauma

สาเหตุเกิดจากมีแรงกระแทกที่ศีรษะจนทำให้เนื้อสมองได้รับการบาดเจ็บ
โดยผลอาจจะมีขนาดเล็กน้อยจนถึงรุนแรง เกิดรอยช้ำ ไปจนถึงเลือดออกในสมองหรือเสียชีวิต

ปัญหาและอาการของผู้ป่วยภาวะสมองบาดเจ็บ Brain Trauma

มักจะไม่แน่นอนขึ้นกับตำแหน่งของพยาธิสภาพของสมองที่เสียหายแต่ส่วนใหญ่มักพบคือ

  • คลื่นไส้อาเจียน สับสนมึนงง
  • มีปัญหาเรื่องการรับรู้ พูดสื่อสาร
  • ศูนย์เสียการทรงตัว หรือ การเคลื่อนไหว
  • ปัญหาด้านจิตใจ และอารมณ์
  • สูญเสียความจำ
  • บางรายเกิดความพิการทุพพลภาพ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
โปรแกรมการรักษาฟื้นฟูด้านกายภาพบำบัด

การฟื้นฟูด้านกายภาพบำบัดในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บขึ้นอยู่กับอาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบหลังจากระบบประสาทสมองโดนทำลายมักส่งผลให้ผู้ป่วยมีความพิการหรือทุพพลภาพเกิดขึ้น เดินไม่ได้ พูดลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป้าหมายด้านกายภาพบำบัดคือลดความพิการหรือทุพพลภาพของร่างกายให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตให้ปกติมากที่สุดอีกครั้ง ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวได้เร็วเช่นกัน

ตัวอย่างการกายภาพบำบัดเพื่อฝึกเดินด้วย หุ่นยนต์ฝึกเดินชนิด Exoskeleton ซึ่งให้ผู้ป่วยสวมใส่และให้หุ่นยนต์พาผู้ป่วยก้าวเดินต่อเนื่องซ้ำๆ ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่คล้ายการเดินจริงๆ หรือใช้คลื่นแม่เหล็กกระตุ้นสมองชนิด Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) กระตุ้นสมองส่วนที่บาดเจ็บให้เนื้อสมองเกิดการสั่งการใหม่อีกครั้ง ร่วมกับการทำ กายภาพบำบัดเพื่อฝึกฝนให้ผู้ป่วยเดิน เคลื่อนไหวด้วยตนเอง จะเป็นส่วนช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตที่ใกล้เคียงปกติมากยิ่งขึ้น