การรักษา

กายภาพบำบัด

เป้าหมายของการรักษาฟื้นฟูด้านกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ การทำการฝึกและออกกำลังกาย โดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรียนรู้การเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปนั่ง ยืน เดิน หรือกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง เช่นการเดินเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

กิจกรรมบำบัด

คือการนำกิจกรรมในชีวิตจริงเช่น การพูด การกิน การแต่งหน้า แต่งตัว ซึ่งผู้ป่วยทางระบบประสาทจะมีปัญหาการสั่งการของสมองจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง การใช้กิจกรรมที่เสมือนจริงมาฝึกอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอคือการฟื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเองมากที่สุด

เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการฟื้นฟู

เป็นการเพิ่มทักษะด้านต่างๆของผู้ป่วยให้เสมือนจริงมากที่สุด เช่น การใช้หุ่นยนต์ชนิด Exoskeleton Robot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ผู้ป่วยสามารถสวมใส่ และพา ผู้ป่วยนั่ง ยืน และ เดิน ได้เสมือนจริงหรือการทำเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กมากระตุ้นสมองที่ได้รับการบาดเจ็บ Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการใหม่อีกครั้งของสมองที่บาดเจ็บ

TMS
TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION
TMS
TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION

TMS

Transcranial Magnetic Stimulation ( TMS) เป็นเครื่องสำหรับการกระตุ้นสมองและระบบประสาท

ซึ่งได้นำมาใช้รักษาฟื้นฟูในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury), โรคพาร์กินสัน (Parkinson), โรคไมเกรน (Migraine), โรคซึมเศร้า (Depression) หรือกลุ่มอาการผิดปกติของพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เป็นต้น

โดยหลักการคือ การใช้หัวกระตุ้นวางในตำแหน่งของสมองที่มีปัญหาหรือได้รับการบาดเจ็บ พร้อมปล่อยคลื่นแม่เหล็กอย่างต่อเนื่อง ซ้ำๆ เพื่อให้สมองมีการส่งสัญญาณประสาทได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นอีกวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมองและระบบประสาท คลื่นแม่เหล็กTMS มักนำมาใช้กระตุ้นสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสั่งการของสมองด้านการพูด การสื่อสาร การสั่งการด้านการเคลื่อนไหว

TMS

Transcranial Magnetic Stimulation ( TMS) เป็นเครื่องสำหรับการกระตุ้นสมองและระบบประสาท

ซึ่งได้นำมาใช้รักษาฟื้นฟูในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury), โรคพาร์กินสัน (Parkinson), โรคไมเกรน (Migraine), โรคซึมเศร้า (Depression) หรือกลุ่มอาการผิดปกติของพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เป็นต้น

โดยหลักการคือ การใช้หัวกระตุ้นวางในตำแหน่งของสมองที่มีปัญหาหรือได้รับการบาดเจ็บ พร้อมปล่อยคลื่นแม่เหล็กอย่างต่อเนื่อง ซ้ำๆ เพื่อให้สมองมีการส่งสัญญาณประสาทได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นอีกวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมองและระบบประสาท คลื่นแม่เหล็กTMS มักนำมาใช้กระตุ้นสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสั่งการของสมองด้านการพูด การสื่อสาร การสั่งการด้านการเคลื่อนไหว

PMS กระตุ้นที่เส้นประสาทแต่ละจุด
(peripheral magnetic stimulation)
PMS กระตุ้นที่เส้นประสาทแต่ละจุด
(peripheral magnetic stimulation)

PMS

Peripheral Magnetic Stimulation ( PMS) เป็นเครื่องสำหรับการกระตุ้นระบบประสาทและเส้นประสาทส่วนปลาย

โดยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังตำแหน่งต่างๆของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถใช้กับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทเช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury), โรคพาร์กินสัน (Parkinson), โรคไมเกรน (Migraine) หรือโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง (Back Pain), หมอนรองกระดูกหลังทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

PMS นิยมใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทในผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมอง (Stroke) หรือผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury) เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและให้เส้นประสาทเกิดการรับรู้และสั่งการ พร้อมส่งสัญญาณไปยังสมองถึงการทำงานของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง การกระตุ้นต่อเนื่องสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสั่งงานของกล้ามเนื้อของผู้ป่วยได้ หรืออาจใช้คลื่นแม่เหล็กชนิด PMS เพื่อบรรเทาความปวดซึ่งมักนิยมใช้ในผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม หรือลดอาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทที่โดนทำลายได้อีกด้วย

PMS

Peripheral Magnetic Stimulation ( PMS) เป็นเครื่องสำหรับการกระตุ้นระบบประสาทและเส้นประสาทส่วนปลาย

โดยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังตำแหน่งต่างๆของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถใช้กับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทเช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury), โรคพาร์กินสัน (Parkinson), โรคไมเกรน (Migraine) หรือโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง (Back Pain), หมอนรองกระดูกหลังทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

PMS นิยมใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทในผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมอง (Stroke) หรือผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury) เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและให้เส้นประสาทเกิดการรับรู้และสั่งการ พร้อมส่งสัญญาณไปยังสมองถึงการทำงานของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง การกระตุ้นต่อเนื่องสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสั่งงานของกล้ามเนื้อของผู้ป่วยได้ หรืออาจใช้คลื่นแม่เหล็กชนิด PMS เพื่อบรรเทาความปวดซึ่งมักนิยมใช้ในผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม หรือลดอาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทที่โดนทำลายได้อีกด้วย

เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการฟื้นฟู
" หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง "
ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระบบประสาท
" หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง "
ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระบบประสาท

หุ่นยนต์ฝึกเดิน Exoskeleton Robot

0:00
/

หุ่นยนต์ฝึกเดินชนิด Exoskeleton Robot คือหนึ่งในเทคโนโลยีด้านการฟื้นฟูการเคลื่อนไหว

ซึ่งหุ่นยนต์ชนิดนี้คือหุ่นยนต์ที่ผู้ป่วยสามารถสวมใส่คล้ายสวมเสื้อผ้า พร้อมพาให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ คือนั่ง ยืน และการก้าวเดิน ในทุกๆการเคลื่อนไหวที่เสมือนจริง โดยสามารถใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury), โรคการบาดเจ็บของสมอง (Brain Trauma), โรคพาร์กินสัน (Parkinson) หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเดิน เป้าหมายเพื่อให้ระบบประสาทและสมองได้รับรู้และเรียนรู้การเดินที่สูญเสียไปให้กลับมาเดินได้ดีขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากหุ่นยนต์แบบสวมใส่นี้ผู้ป่วยจะสามารถยืนและเดินลงน้ำหนักได้กับพื้นจริง ซึ่งประโยชน์โดยตรง คือแรงที่เรียกว่า On Ground Training เป็นสิ่งกระตุ้นจากการเดินลงน้ำหนักผ่านข้อต่อต่างๆให้มีการส่งข้อมูลไปยังไขสันหลังและสมอง เมื่อมีการกระตุ้นซ้ำๆ ต่อเนื่องส่งผลให้ประสิทธิภาพการสั่งการของระบบประสาทด้านการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นได้

กายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด
" การฟื้นฟูเพื่อเพิ่มทักษะการทรงตัว การเคลื่อนไหว "
เพื่อให้ผู้ป่วย ยืนและเดินได้อีกครั้ง
" การฟื้นฟูเพื่อเพิ่มทักษะการทรงตัว การเคลื่อนไหว "
เพื่อให้ผู้ป่วย ยืนและเดินได้อีกครั้ง

กายภาพบำบัด Physical Therapy

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยทางระบบประสาทและสมอง คือ
การบำบัดรักษาฟื้นฟูร่างกายเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปนั่ง ยืน เดิน ได้ด้วยตนเองอีกครั้ง

โดยมีหลักการคือ สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกฝนการเคลื่อนไหวในท่าทางที่ผู้ป่วยมีปัญหาและเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการฝึกการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งในทางกายภาพเราทราบดีว่าปัจจัยพื้นฐานในการทำกิจวัตรประจำวันคือ การยืน เดิน ดังนั้นการทำกายภาพบำบัด คือสิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ในการฟื้นฟูร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยระบบประสาทและสมอง ซึ่งมีปัญหาโดยตรงต่อการเคลื่อนไหว

โปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับ

  • ผู้ป่วยระบบประสาทและสมอง
  • ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด
กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด
" การฟื้นฟูด้วยกิจกรรมต่างๆที่เสมือนจริง "
เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือตนเองได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น
" การฟื้นฟูด้วยกิจกรรมต่างๆที่เสมือนจริง "
เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือตนเองได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น

กิจกรรมบำบัด Occupational Therapy

เป็นวิธีการรักษาฟื้นฟูโดยนำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนปกติทั่วไป

เพื่อนำมาฝึกฝนเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเช่น กิจกรรมการกิน การเคี้ยวอาหาร กิจกรรมการฝึกพูดและสื่อสารหรือกิจกรรมการแต่งตัวแต่งหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือปัญหาหลักของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และโรคไขสันหลังหรือสมองบาดเจ็บ ( spinal cord and brain injury)

โดยมีหลักการและแนวทางคือ การประเมินหาข้อจำกัดในกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ซึ่งแต่ละรายอาจมีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาเช่น เป้าหมายการรับประทานอาหารด้วยตนเองของผู้ป่วย Stroke ที่ต้องการถอดสายให้อาหารทางสายยาง จนถึงวางแผนการรักษาด้านการฝึกรับประทานอาหารทำให้ผู้ป่วยสามารถถอดสายให้อาหารได้

กิจกรรมบำบัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมทักษะ การดำเนินชีวิตประจำวันทุกๆ ด้านของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด

เป็นการบำบัดรักษาด้วยออกซิเจน 100% กับสภาพความกดบรรยากาศสูง

ที่มากกว่า 1 บรรยากาศเมื่อเทียบกับความกดอากาศปกติ

โดยให้ผู้ป่วยอยู่ภายในเครื่องปรับบรรยากาศ (hyperbaric chamber) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหลอดแก้วขนาดใหญ่ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับออกซิเจนที่ความกดบรรยากาศปกติ

โดยตัวอย่างการบำบัดรักษาด้วย HBOT สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อสมองที่โดนทำลาย ซึ่งการเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่มีออกซิเจนสูงยังส่งผลต่อการงอกของหลอดเลือดฝอยในส่วนต่างของร่างกาย มีผลต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกายโดยสามารถใช้กับผู้ป่วยเช่น

  • แผลเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, แผลกดทับตามร่างกาย
  • แผลผิวหนังพองไหม้ หรือผู้ป่วยที่ได้รับรังสีบำบัด
  • ลดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในร่างกาย
  • ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังเนื้อเยื่อที่ขาดเลือดในส่วนต่างๆของร่างกายได้ เช่น สมอง, หู ซึ่งมักพบในผู้ป่วยสมองขาดเลือด หรือประสาทหูดับเฉียบพลัน